ในยุคที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกคนต่างทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านโลกออนไลน์ รวมไปถึงองค์กรจำนวนมากก็ได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แน่นอนว่าเมื่อเทคโนโลยีมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ทำให้มีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามฉวยโอกาสหารายได้ผ่านโลกออนไลน์ เช่น การฉ้อโกง การโจมตีทางไซเบอร์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นต้น
ดังนั้น ความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญ และรักษาความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและคู่ค้า เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในทางที่เหมาะสม และปลอดภัยได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า Cybersecurity คืออะไร? และ Cybersecurity ในองค์กรสําคัญอย่างไร?
Cybersecurity คืออะไร?
Cybersecurity คือ กระบวนการและมาตรการที่ใช้ปกป้องระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล และระบบเครือข่ายจากการถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ การโจมตี และความเสี่ยงทางไซเบอร์อื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในสารสนเทศและเทคโนโลยีขององค์กร หรือบุคคลทั่วไป เนื่องจากความเสี่ยงทางไซเบอร์มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การดูแลระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดความเป็นส่วนตัว การสูญเสียข้อมูล การหยุดทำงานของระบบ และความเสียหายอื่นๆ
Cybersecurity สำคัญอย่างไร?
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Cybersecurity สำคัญอย่างไร? ในโลกดิจิตอลที่เราอยู่นั้น ข้อมูลถูกจัดเก็บผ่านอินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์สามารถเชื่อมถึงกันได้อย่างง่ายดาย แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ แลกมาด้วยความปลอดภัยที่ลดลงจากผู้ไม่หวังดี เพราะสำหรับองค์กรที่ถูกละเมิดข้อมูลเพียงหนึ่งครั้งสามารถนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลของคนจำนวนมาก ทำให้องค์กรเกิดผลกระทบ เช่น สูญเสียเงิน สูญเสียข้อมูลของลูกค้า ส่งผลต่อการขาดความไว้วางใจ เพราะฉะนั้นแล้วความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในทุกองค์กร ซึ่งหากองค์กรมีบุุคลากรทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่เพียงพอ สามารถขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Consultant ให้เข้ามาช่วยประเมินความเสี่ยง พร้อมกับวางแผนการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เหมาะสมกับองค์กร
Cybersecurity มีอะไรบ้าง?
หลังจากที่ได้ทราบว่า Cybersecurity คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรแล้ว ในลำดับต่อไปจะขอพาทุกคนมาดูว่า Cybersecurity มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่องค์กรควรให้ความสำคัญ
• Network Security
หากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งของบริษัทติดไวรัส และไม่มีการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ดังนั้นแล้ว การรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายจึงมีความสำคัญต่อการปกป้องข้อมูล การรักษาข้อมูลที่แบ่งปันกัน และผู้ใช้งานมั่นใจถึงประสิทธิภาพของเครือข่าย ซึ่งการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายนั้น แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น Firewalls มีหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของระบบเครือข่าย โดยจะตรวจสอบและคัดกรองข้อมูล และ Network Segment มีหน้าที่ในการแบ่งสัดส่วนของเครือข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้มัลแวร์อัตโนมัติแพร่กระจายไปในส่วนอื่นๆของธุรกิจ
• Cloud Security
ในปัจจุบันบริษัทส่วนมากได้นำเทคโนโลยี Cloud มาใช้เป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากขึ้น การทำความเข้าใจด้านความปลอดภัยสำหรับการรักษาข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ คือชุดของขั้นตอนและเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับภัยคุกคามภายนอก และภายในต่อความปลอดภัยทางธุรกิจ หรือองค์กรต่างๆ
• Application Security
การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน สามารถเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา โดยการนำหลักการของ Application Security มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนา และคำนึงถึงการป้องกันช่องโหว่ต่าง ๆ เช่น เชื่อมต่อความปลอดภัย การจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลและการใช้งานโค้ดที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการด้าน Mobile Application Security ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาช่วยจัดการเรื่องความปลอดภัยทางแอปพลิเคชัน
• Internet of Things (IoT) Security
IoT มีประโยชน์อย่างมากในการส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ และช่วยลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่ซับซ้อน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ความการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตและเครือข่ายที่เชื่อมต่อกัน (IoT Security) จึงต้องเข้ามามีบทบาทในการป้องกัน ระบุ และตรวจสอบความเสี่ยงทั้งหมด เพื่อสร้างความปลอดภัยขององค์กร
• Endpoint Security
การรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทางเป็นเหมือนแนวหน้าของการป้องกันในโลกไซเบอร์ที่หลายบริษัทเลือกใช้เป็นอันดับแรก เนื่องจากโดย การรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทาง หมายถึง การรักษาความปลอดภัยจากอุปกรณ์ที่เข้าใช้งาน เช่น เดสก์ท็อป สมาร์ตโฟน แล็ปท็อป หรือ อุปกรณ์อื่นๆ จากการถูกโจมตีโดยแฮ็กเกอร์ และภัยทางไซเบอร์อื่น ๆ
Cybersecurity Management คืออะไร?
Cybersecurity Management คือ การบริหารจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุม รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรที่มีการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ ป้องกันและรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ การสูญหายข้อมูล และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูลและเครือข่าย
ทำไมถึงควรมีระบบ Cybersecurity ในองค์กร
Cybersecurity ในองค์กรสําคัญอย่างไร? หากมีเหตุการณ์และผลกระทบที่ร้ายแรงเกิดขึ้นจากการที่ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อภาพลักษณ์และความไว้วางใจขององค์กร ด้วยเหตุนี้ องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการสร้าง และบำรุงระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเต็มที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบุกรุก และการเข้าถึงที่ไม่เหมาะสม ผ่านการปรับปรุงเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย เช่น การใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานสูง การประเมินความเสี่ยงและการพัฒนานโยบายความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับองค์กร นอกจากนี้ การฝึกอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย เพื่อเพิ่มความตระหนักและการรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต องค์กรในปัจจุบันไม่ควรละเลยเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อป้องกันการเสียหายที่อาจเกิด
9 มิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กร
การละเมิดความปลอดภัยในโลกดิจิทัลกำลังมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น และคาดการณ์ว่าในปี 2566 จำนวนการละเมิดดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 15.4 ล้านครั้ง ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะเป็นตัวช่วยในการอัปเกรดมาตรการรักษาความปลอดภัยได้ง่ายขึ้นสำหรับองค์กรต่างๆ แต่ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงผู้โจมตีที่เป็นอันตรายได้ ซึ่งนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มงวดอาจยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้มาตรการเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยงทางความปลอดภัยในโลกดิจิทัล และควรพิจารณาใช้มาตรการลดความเสี่ยงความปลอดภัยทางไซเบอร์ในองค์กรของคุณอย่างเหมาะสม โดยในหัวข้อนี้ ได้เตรียมข้อมูลมิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กรเบื้องต้นที่องค์กรของคุณก็สามารถเริ่มทำได้
1. เข้ารหัสข้อมูลและสร้างข้อมูลสำรอง
หนึ่งในมิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กรคือ การใช้วิธี Data encryption เพื่อจำกัดการเข้าถึงข้อมูล โดยผู้ที่เข้าถึงได้ จะต้องมีรหัสผ่านอย่างถูกต้องเท่านั้น และผู้ที่ไม่มีรหัสผ่าน แม้จะเข้าถึงข้อมูลได้ก็จะไม่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้องค์กรควรทำการสำรองข้อมูลไว้ที่อื่นด้วย เพราะบางครั้งการถูกโจมตีทางไซเบอร์อาจส่งผลให้ข้อมูลขององค์กรหายไป สามารถทำได้ตามกฎ 3-2-1 นั่นคือ สำรองข้อมูลไว้ 3 ชุด โดย 2 ชุดอยู่บนอุปกรณ์ หรือ เทคโนโลยีอื่น และ อีก 1 ชุด สำรองไว้ที่สถานที่อื่น หรือ สำรองไว้ในรูปแบบออฟไลน์ก็ได้เช่นกัน
2. ดำเนินการฝึกอบรมพนักงานเป็นประจำ
มิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กรที่เบสิก และอาชญากรไซเบอร์มักจะใช้เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลคือ การส่งอีเมลหลอกหลวง หรือ สแปม ให้กับพนักงานในบริษัท โดยอีเมลเหล่านี้มีมัลแวร์ที่เป็นอันตรายในรูปแบบของลิงค์อยู่ ซึ่งทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ดังนั้น องค์กรควรเน้นย้ำและสร้างความรู้ ความเข้าใจ ฝึกอบรมพนักงานให้รู้จักกับภัยอันตรายจากอาชญากรไซเบอร์ การฝึกอบรมช่วยให้พนักงานรู้จักจุดอ่อน และเทคนิคในการรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การตรวจสอบลิงค์ก่อนที่จะคลิก และอย่าเปิดเอกสารหรือแนบที่มากับอีเมลจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของข้อมูลและองค์กร
3. คอยอัปเดตระบบและซอฟต์แวร์
การอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งมิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กร ซึ่งภายในองค์กรต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการอัปเดตระบบ และซอฟต์แวร์การทำงาน เพราะไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง และอุดช่องโหว่ต่างๆ ของระบบให้ทำงานได้สมบูรณ์ เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์ที่เป็นอันตรายมักพัฒนาโค้ดใหม่ๆ โดยอาจจะนำโค้ดมัลแวร์ไปวางในระบบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบทั้งหมด นั้นหมายความว่าการตรวจสอบและใช้ระบบการจัดการที่เหมาะสม เพื่อดูแลการอัปเดตทั้งหมดโดยอัตโนมัติ จะช่วยปกป้องระบบจากโค้ดที่เป็นอันตรายและช่องโหว่ที่อาจถูกใช้ประโยชน์ในอนาคต
4. ตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเผยให้เห็นว่ากว่า 80% ของการถูกอาชญากรไซเบอร์โจมตีขโมยข้อมูลในองค์กรเป็นผลมาจากการตั้งรหัสผ่านที่ไม่รัดกุม เพราะเพียงช่องโหว่เล็ก ๆ ก็สามารถถูกโจมตีได้ง่ายๆ พนักงานในองค์กรทุกระดับจำเป็นต้องตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อน และอาจมีฟีเจอร์ยืนยันตัวตนอีกครั้ง เพื่อกีดกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ไม่ให้เขาถึงข้อมูลได้ ที่สำคัญรหัสถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และไม่ควรแชร์รหัสกันระหว่างพนักงาน สำหรีบวิธีการลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของรหัสผ่านเบื้องต้นที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ได้แก่
รหัสผ่านทั้งหมดควรมีอักขระอย่างน้อย 8 ตัว
ควรมีอักขระที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขคละกัน
ไม่ควรมีข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ
รหัสควรไม่ซ้ำกันและไม่เคยใช้มาก่อน
ไม่ควรมีคำที่สะกดที่สามารถเดาได้ง่าย
เก็บรหัสผ่านอย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน หลายองค์กรอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน โดยมีพนักงานจำนวนมากที่นำเอาอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ระหว่างการทำงาน (Bring Your Own Device - BYOD) เช่น คอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือส่วนตัว ซึ่งหากผู้ใช้งาน iOS สามารถเลือกฟีเจอร์ขอคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากระบบของมือถือได้ ซึ่งจะช่วยตรวจสอบและเพิ่มความปลอดภัยของรหัสผ่านที่บันทึกไว้ในอุปกรณ์
5. ปิดกั้นช่องโหว่
ช่องโหว่เปรียบเสมือนประตูที่แฮ็กเกอร์แทรกแซงเข้ามาเพื่อเจาะข้อมูลสำคัญได้ โดยช่องโหว่มีจะมี 3 ประเภทหลักได้แก่
ช่องโหว่ทางกายภาพ: จุดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายในระบบหรือโครงสร้างทางกายภาพของสิ่งต่าง ๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ช่องโหว่ทางดิจิทัล: สิ่งเหล่านี้บนอินเทอร์เน็ตที่แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ ซึ่งรวมถึงสิ่งที่คุณรู้จัก เช่น เซิร์ฟเวอร์ของบริษัท สิ่งที่คุณอาจลืมไปแล้ว เช่น เว็บไซต์เก่า และสิ่งที่แอบอ้างว่ามาจากบริษัทของคุณ
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคล: แฮ็กเกอร์มักจะหลอกให้บุคคลกรอกข้อมูลสำคัญต่างๆ อันนำไปสู่การแฮ็กระบบได้ ฉะนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวบุคคลเองจำเป็นต้องระมัดระวัง และตรวจสอบว่าเรามีความเสี่ยงในจุดใดบ้าง ค้นหาจุดอ่อนและแก้ไขเพื่อให้แฮ็กเกอร์เข้าถึงได้ยากขึ้น
6. ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางกายภาพ
การตกเป็นเหยื่อของความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ไม่จำกัดเพียงในโลกออนไลน์เท่านั้น บ่อยครั้งที่องค์กรถูกทำร้ายจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่สำคัญ ดังนั้น การปกป้องและรักษาความปลอดภัยของสถานที่หวงห้ามเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาปรับใช้ เช่น การใช้คีย์การ์ด และระบบไบโอเมตริก จึงอาจกล่าวได้ว่าความปลอดภัยทั้งในรูปแบบดิจิทัลและทางกายภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ควรจัดการและป้องกันความเสี่ยงให้เหมาะสม เพื่อให้สถานที่ทำงานปลอดภัย
7. ใช้ Killswitch
กรณีที่องค์กรถูกภัยคุกคากโจมตีเข้าในระบบสามารถใช้ระบบ Killswitch ในการยกเลิกการทำงานของอุปกรณ์เกิดปัญหาเหล่านั้นได้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งหยุดการแพร่กระจายปัญหาไปยังระบบอื่นๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อการทำงานรวมถึงความปลอดภัย เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ หรือการแพร่ระบาดของมัลแวร์
8. ติดตั้ง Firewalls
ภัยคุกคามบนโลกอินเตอร์เน็ตมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และอาชญากรไซเบอร์พยายามคิดค้นวิธีใหม่ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล ดังนั้น การปกป้องเครือข่ายไม่ให้ถูกโจมตีทางไซเบอร์อีกหนึ่งวิธีคือ การติดตั้ง Firewalls ระบบที่มีความน่าเชื่อถือที่จะช่วยปกป้องการโจมตีอย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถตรวจสอบการรับส่งข้อมูลเครือข่ายขององค์กร เพื่อแจ้งเตือนกิจกรรมที่น่าสงสัยและอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของข้อมูลได้
9. ออกนโยบายการป้องกัน Cybersecurity
มิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กรที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ คือ องค์กรควรออกนโยบายการความปลอดภัยทางไซเบอร์ และแนวทางการป้องกันตรวจจับการละเมิดข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด โดยอาจประสานงานกับทีมไอทีประเมินความเสี่ยง และทดสอบการเจาะระบบอย่างเป็นประจำ เพื่อตรวจหาช่องโหว่และความปลอดภัยของระบบ การทดสอบความปลอดภัยช่วยให้รู้ถึงจุดอ่อนและช่องโหว่ที่อาจถูกโจมตีได้ ซึ่งองค์กรสามารถนโยบายป้องกัน Cybersecurity เบื้องต้นได้ ดังนี้
การกู้คืนจากความเสียหาย: หากข้อมูลเกิดรั่วไหล แผนการกู้ข้อมุลคืนจากความเสียหาย ช่วยให้พนักงาน และทีมไอที รับทราบแนวทางการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการติดต่อประสานงาน
การควบคุมและการจัดการการเข้าถึง: นโยบายนี้เน้นถึงฝ่ายต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ช่วยลดความเสี่ยงของการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต องค์กรจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่านโยบายการจัดการการเข้าถึง ได้ระบุหรือไม่ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายใดบ้างที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึง และสามารถแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ได้หรือไม่
การทดสอบความปลอดภัย: ระบุความถี่ของการทดสอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ ช่วยให้ค้นพบช่องโหว่ก่อนที่จะสายเกินไป การทดสอบความปลอดภัยที่ควรทำ ได้แก่ การสแกนช่องโหว่, การประเมินท่าทางการรักษาความปลอดภัย, การทดสอบการเจาะระบบ, การแฮ็กอย่างมีจริยธรรม, การประเมินความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นต้น
แผนเผชิญเหตุ: เอกสารประกอบขั้นตอน และกระบวนการที่ควรดำเนินการในกรณีที่เกิดการละเมิด นอกจากนี้ยังเน้นถึงความรับผิดชอบของผู้มีส่วนสำคัญในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นถึงมิติของการจัดการไซเบอร์ในองค์กรในเบื้องต้นว่าองค์กรจะสามารถจัดการอย่างไรได้บ้าง ซึ่งการจัดการทางไซเบอร์ในองค์กรอาจมีท้าทายไม่น้อย เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย รวมทั้งต้องพิจารณาการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการวางแผน และกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับด้านไซเบอร์ ดังนั้น การได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทางไซเบอร์จะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถออกแบบและวางแผนการจัดการไซเบอร์ที่เหมาะสม และประสบความสำเร็จในระยะยาว
Cybersecurity คือ กระบวนการและมาตรการที่ใช้เพื่อปกป้องระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูล และระบบเครือข่ายจากการถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ การโจมตี และความเสี่ยงทางไซเบอร์อื่น ๆ ซึ่ง Cybersecurity สำคัญอย่างมากต่อองค์กรเพราะการถูกละเมิดข้อมูลเพียงหนึ่งครั้งสามารถนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้เสีย ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อบริษัท ทั้งด้านการเงินและการขาดความไว้วางใจจากลูกค้า ดังนั้น องค์ควรออกนโยบาย รวมทั้งการดำเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา: