top of page

Radio Renaissance: Pathways to Progress ทิศทางการพัฒนากิจการสื่อวิทยุ


สถานการณ์ผู้ฟังวิทยุในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2563 แนวโน้มผู้ฟังวิทยุเพิ่มขึ้นจาก 120.68 ล้านคน เป็น 134.83 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.73 โดยสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อีกทั้งผลการสำรวจจาก Nielsen ชี้ให้เห็นว่ามีจำนวนผู้ฟังวิทยุเพิ่มขึ้น และมีระยะเวลาในการรับฟังสื่อวิทยุที่เพิ่มมากขึ้นถึง 1 ชั่วโมง จากเดิมที่มีระยะเวลาการรับฟังที่ 14 ชั่วโมง 16 นาทีต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นเป็น 15 ชั่วโมง 2 นาที ภายหลังจากปี พ.ศ. 2563 จนถึงปี พ.ศ. 2565 แนวโน้มจำนวนการฟังวิทยุลดลงอย่างชัดเจน จากจำนวนการฟังวิทยุทั้งหมด 134.83 ล้านครั้งในปี พ.ศ. 2563 ลดลงเหลือ 121.48 ล้านครั้ง ในปี พ.ศ. 2565 หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 9.90


โดยสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่บรรเทาลงจากเดิม ส่งผลทำให้ผู้คนบางส่วนต้องกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งทำให้ผู้ฟังวิทยุลดลงไปด้วยเช่นกัน อีกทั้งการสำรวจถึงกลุ่มช่วงอายุของผู้ฟัง พบว่ากลุ่มช่วงอายุที่มีการรับฟังวิทยุมากที่สุดคือ กลุ่ม Baby boomer หรือกลุ่มที่มีช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากกลุ่ม Baby boomer มีการรรับฟังวิทยุมาตั้งแต่เด็ก และเคยชินกับการใช้งานวิทยุดั้งเดิมมากกว่าการสื่อออนไลน์ ในทางตรงกันข้ามกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มีการรับฟังวิทยุที่ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักมาจากกลุ่มผู้ฟังวิทยุในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z หันไปใช้สื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่มีการฟังวิทยุลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมของกลุ่ม Gen Yและ Gen Z รวมทั้งศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่มีต่อกิจการวิทยุในประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมกิจการวิทยุในประเทศไทย


พฤติกรรมการรับฟังวิทยุของกลุ่ม Gen Y และ Gen Z

การสำรวจกลุ่มตัวอย่าง Gen Y และ Gen Z จำนวน 558 และ 600 คน ตามลำดับ พบว่า พฤติกรรมการรับฟังวิทยุของทั้ง 2 กลุ่มช่วงอายุมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก โดยทั้ง 2 กลุ่มช่วงอายุจะรับฟังรายการวิทยุประเภทที่มุ่งให้ความบันเทิงเป็นหลัก จะเห็นได้จากรายการเพลง ซึ่งเป็นรายการที่ได้รับการฟังสูงสุดตั้งแต่ช่วงเวลา 9 โมงเช้า จนถึง เที่ยงคืน อีกทั้งกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ยังนิยมฟังวิทยุขณะอยู่บนรถ เนื่องจากทั้ง 2 กลุ่มช่วงอายุส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยทำงาน โดยจะใช้เวลาบนรถในการเดินทางไปทำงานและเดินทางกลับบ้านมากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น ๆ จึงส่งผลทำให้กลุ่ม Gen Y และ Gen Z มีการรับฟังวิทยุดั้งเดิมจากบนรถหรือขณะเดินทางมากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น อีกทั้งกลุ่ม Gen Y และ Gen Z นิยมฟังวิทยุแบบดั้งเดิม


          

3 ปัญหาหลักที่ส่งผลให้ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างเลิกฟังวิทยุ ได้แก่

  1. สัญญาณวิทยุกระจายเสียงไม่มีความเสถียรและชัดเจน โดยถือเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของทั้ง 2 กลุ่ม คือ Gen Y และGen Z ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 และ 26 ตามลำดับ เนื่องจากการเกิดสัญญาณขัดข้องหรือคุณภาพเสียงไม่ดีจะส่งผลให้ผู้ฟังเสียอรรถรถในการรับฟังวิทยุ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้กลุ่มผู้ฟัง Gen Y และ Gen Z หันไปฟังผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น อีกทั้งยังมีสถานีวิทยุบางแห่งที่มีกำลังส่งสัญญาณต่ำ ส่งผลให้สัญญาณวิทยุไม่สามารถส่งสัญญาณไปถึงพื้นที่ห่างไกลได้ รวมถึงอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุที่มีความล้าสมัย หรือมีประสิทธิภาพต่ำ ก็ส่งผลต่อคุณภาพเสียงเช่นกัน

  2. วิทยุดั้งเดิมเป็นการสื่อสารทางเดียวถือเป็นปัญหาอันดับสองของทั้งกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 และ 14 ตามลำดับ เนื่องจากการสื่อสารทางเดียวส่งผลทำให้ผู้ฟังไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้จัดรายการได้ จึงส่งผลให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อได้ง่าย อีกทั้งการสื่อสารทางเดียวจะทำให้ผู้จัดรายการไม่รับรู้ถึงความต้องการของผู้ฟังอีกด้วย และ

  3. รูปแบบรายการวิทยุมีความจำเจ และไม่น่าสนใจ ถือเป็นปัญหาอันดับ 3 ของกลุ่มตัวอย่าง Gen Y และ Gen Z คิดเป็นร้อยละ 12 และ 14 ตามลำดับ เนื่องจากการจัดรายการวิทยุเป็นการสื่อสารทางเดียว จึงทำให้ยากที่จะคิดค้นรายการใหม่ๆ ส่งผลทำให้มีแต่รายการรูปแบบเดิม และไม่น่าดึงดูดกลุ่มผู้ฟังใหม่


นอกจากจะศึกษาถึงพฤติกรรม และปัญหาของผู้ฟังแล้ว สามารถทำการศึกษาถึงปัญหาของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงด้วย เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบกิจการวิทยุหลายที่ได้ปิดตัวลง ส่งผลทำให้ผู้ฟังไม่มีตัวเลือกในการรับฟังสถานีวิทยุใหม่ๆ รวมถึงรายการใหม่ๆ จึงส่งผลให้ผู้ฟังหลายคนรู้สึกเบื่อและเลิกฟังวิทยุในรูปแบบดั้งเดิม และหันไปฟังวิทยุหรือรายการต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์แทน


ปัญหาของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง

สามารถจำแนกปัญหาของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงออกเป็น 3 ปัญหาหลัก ได้แก่

  1. ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงมีรายได้ลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้หลายสถานีต้องปิดตัวลงเพราะขาดรายได้จากสปอนเซอร์ นอกจากนี้ การแข่งขันระหว่างสถานีวิทยุยิ่งรุนแรงขึ้น ทำให้หลายสถานีต้องลดราคาค่าโฆษณาลง อีกทั้งในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 กสทช. จะทำการยุติการทดลองออกอากาศทั้งวิทยุชุมชน สาธารณะ และธุรกิจ ดังนั้น สถานีวิทยุที่ต้องการดำเนินการต่อจะต้องประมูลคลื่นใหม่เพื่อเปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุที่ได้รับใบอนุญาต ส่งผลให้สปอนเซอร์ขาดความมั่นใจในการซื้อโฆษณากับสถานีวิทยุ เนื่องจากไม่มั่นใจว่าสถานีทดลองจะสามารถประมูลคลื่นได้และได้รับใบอนุญาตหรือไม่

  2. กฎหมายของ กสทช. เข้มงวดเกินไปในเรื่องการโฆษณาสินค้า ส่งผลให้ผู้ประกอบการวิทยุไม่กล้ารับโฆษณา ทำให้สูญเสียรายได้หลักและต้องปิดกิจการ นอกจากนี้ยังมีปัญหาคลื่นทับซ้อนหรือสัญญาณไม่มีคุณภาพ หากเกิดคลื่นทับซ้อนหรือสัญญาณเสียงไม่ดี ผู้ฟังส่วนใหญ่จะไม่รับฟังสถานีนั้นและหันไปฟังผ่านช่องทางออนไลน์แทน ทำให้วิทยุแบบดั้งเดิมขาดการสนับสนุนจากการโฆษณาและสูญเสียรายได้ในที่สุด และ

  3. กลุ่มผู้ฟัง Gen Y และ Gen Z ถูกดึงดูดโดยบริการ OTT และหันมาใช้บริการ OTT มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง 40 นาที อีกทั้งบริการ OTT เช่น Facebook Live ช่วยให้ผู้จัดรายการสามารถโต้ตอบกับผู้ฟังได้ โดยที่ผู้ฟังสามารถแสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการต่อผู้จัดรายการได้ ซึ่งแตกต่างจากวิทยุแบบดั้งเดิมทีเป็นการสื่อสารทางเดียว


อย่างไรก็ตามการทำ SWOT Analysis ของภาพรวมวิทยุกระจายเสียง จะทำให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงได้นำจุดแข็งและโอกาสของกิจการวิทยุกระจายเสียงมาพัฒนากิจการกระจายเสียงต่อไป และนำจุดอ่อนและภัยคุกคามของกิจการวิทยุกระจายเสียงมาแก้ไขปรับปรุง โดยจุดแข็งของวิทยุดั้งเดิม (Strength) คือ เป็นบริการพื้นฐานของประชากรไทย ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริการ ( Free-to-Air) รวมถึงวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อหลักของภาครัฐในการสื่อสารกับภาคประชาชน และสามารถกระจายข่าวสารโดยครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง


จุดแข็งของวิทยุดั้งเดิม (Strength) คือ เป็นบริการพื้นฐานของประชากรไทย ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการบริการ ( Free-to-Air) รวมถึงวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อหลักของภาครัฐในการสื่อสารกับภาคประชาชน และสามารถกระจายข่าวสารโดยครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง

จุดอ่อนของวิทยุดั้งเดิม (Weakness) คือ พบปัญหาเรื่องการมีคลื่นสัญญาณรบกวนขณะฟัง คุณภาพเสียงที่ไม่ชัดเจน เป็นบริการประเภทเสียงอย่างเดียว และเป็นการสื่อสารทางเดียวเท่านั้น

โอกาสของวิทยุดั้งเดิม (Opportunity) คือ การนำเทคโนโลยี DAB+ มาใช้เนื่องจาก DAB+ มีประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้านคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น รับส่งสัญญาณได้หลากหลายสถานีและช่องรายการได้มากขึ้น โดยไม่เกิดการรบกวนกันของสัญญาณ และเทคโนโลยี DAB+ สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งในรูปแบบของรูปภาพ เสียงและข้อความ

ภัยคุกคามวิทยุดั้งเดิม (Threat) คือ ผู้ให้บริการวิทยุมีทางเลือกทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริการจากการเข้ามาของบริการ OTT ซึ่งส่งข้อมูลในรูปแบบภาพ หรือเสียงไปยังผู้ใช้บริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต และผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการที่คล้ายคลึงกับบริการวิทยุกระจายเสียง เช่น บริการวิทยุอินเทอร์เน็ต บริการมิวสิคสตรีมมิ่ง และบริการพ็อดคาสท์ ซึ่งอาจเป็นบริการที่เข้ามาทดแทนบริการวิทยุกระจายเสียง



สรุปได้ว่าแนวทางการส่งเสริมกิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย คือ

  1. แก้ไขปัญหาคลื่นสัญญาณทับซ้อน คุณภาพเสียงไม่ดี และการที่วิทยุดั้งเดิมเป็นสื่อทางเดียว ด้วยการนำระบบวิทยุกระจายเสียงดิจิตอลแบบ DAB+ มาใช้ รวมถึงติดตั้งระบบ DAB+ ในรถยนต์ เนื่องจากผู้ฟังกลุ่ม Gen Y และ Gen Z มักฟังวิทยุในรถยนต์เป็นหลักควรเปิดโอกาสให้ผู้รับใบอนุญาต และผู้ทดลองออกอากาศมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย

  2. ควรจัดเนื้อหารายการให้มีความน่าสนใจและเป็นที่นิยม เช่น มีการจัดรายการพ็อดคาสท์ หรือรายการเล่าเรื่องผีที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เป็นต้น

  3. มีการจัดผังรายการตามความเหมาะสมของผู้ฟังในแต่ละพื้นที่ เช่น ในกรุงเทพ ตอนช่วงเวลา 06.01 -09.00 ผู้ฟังส่วนใหญ่นิยมฟังรายการข่าวและจราจร และตอน 09.01 – 18.00 จะฟังรายการเพลง และรายการบันเทิงเป็นหลัก เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการวิทยุควรศึกษาพฤติกรรมผู้ฟังในแต่ละพื้น

bottom of page