TEDFund x TIME จัดโครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุน จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ทางกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and innovation-Based Enterprise Development Fund: TED Fund) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการเงินทางด้านการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ จึงจัดโครงการโครงการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุน จากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านการลงทุนของผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
โดยมีทีมที่ปรึกษา TIME Consulting ร่วมจัดประชุมกลุ่มย่อย ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ประกอบการใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง พื้นที่ในส่วนภาคกลาง (กรุงเทพฯ และปริมณฑล) และภาคใต้ พื้นที่ละ 3-5 โครงการ เพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องนำมาคำนวณผลกระทบของโครงการนวัตกรรมทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนวัตกรรม พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมให้สามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดการจัดกิจกรรมนี้เริ่มตั้งแต่ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2566
ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2566 ได้เยี่ยมชมพูดคุยกับผู้ประกอบการในโครงการเส้นเชือกพลาสติกจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคอมโพสิทที่ทำจากขยะพลาสติกและขยะทางการเกษตร, โครงการระบบอัจฉริยะประกันภัยรถยนต์ (ศูนย์บัญชาการ), โครงการระบบอัจฉริยะประกันภัยรถยนต์ (ศูนย์บัญชาการ) และโครงการ Coco Power Gel แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเจลทดแทนพลังงานจากผลไม้ไทย, โครงการนวัตกรรมการบําบัดน้ำเสียด้วยระบบวงจรไฟฟ้า ชีวภาพ-น้ำใสไร้กลิ่นปลอดสารพิษเพิ่มคุณภาพชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, โครงการเพิ่มมูลค่าดอกมะลิโดยการสกัดและแปรรูปให้เป็นเครื่องดื่ม (Shot Drink) ลดอาการวิตกกังวล, โครงการ เอ็นเฮอร์บานซ์ ผลิตภัณฑ์ไดร์สเปรย์สําหรับสุนัข และโครงการ Tiger Cashbox II : ตู้เก็บเงินอัจฉริยะเสือติดปีก
ในเดือนกรกฎาคม 2566 ได้เยี่ยมชมพูดคุยกับผู้ประกอบการโครงการ Tiger Cashbox II : ตู้เก็บเงินอัจฉริยะเสือติดปีก, โครงการ CONEX: ระบบตรวจจับบุคคลที่อำพรางอาวุธปืนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับห้างร้านและส่งเสริมธุรกิจการประกันอาชญากรรม, โครงการปุ๋ยไฮโดรอินทรีย์แม่นยำ, โครงการHR Digital Platform : แพลตฟอร์มดิจิตอลเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์, โครงการ JOBBIM: แพลตฟอร์มการจ้างงานสําหรับวิศวกรและสถาปนิก และโครงการ The Librarian: แพลตฟอร์มไลบรารี่สำหรับนักพัฒนาเกมทั่วไป
ในเดือนสิงหาคม 2566 ได้เยี่ยมชมพูดคุยกับผู้ประกอบการโครงการนวัตกรรมการพัฒนาตํารับและวิจัยประสิทธิภาพนาโนไบโอเจลที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าวและหัวผักกาด, โครงการ GOOD NICE : แพลตฟอร์มตรวจวัดระดับต้นคอเพื่อผลิตหมอนยางพาราเฉพาะบุคคล, โครงการยาสีฟันสมุนไพรอัดเม็ด โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน กองทุนฯ ได้ดำเนินงานด้านการลงทุนสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศให้สามารถดำเนินธุรกิจบนฐานขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม