ETDA x TIME Consulting จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการค้าดิจิทัล ตามกรอบความตกลง UN เพื่อการค้าไร้กระดาษในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
- paphaphisas
- 9 เม.ย.
- ยาว 1 นาที

วันอังคารที่ 8 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ร่วมกับ บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการค้าดิจิทัลตามกรอบความตกลง UN Framework Agreement on Facilitation of Cross-border Paperless Trade in Asia and the Pacific (UN Framework Agreement) ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ขนิษฐ์ ผาทอง เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และกล่าวถึงบทบาทของ ETDA ในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับระบบการค้าระหว่างประเทศของไทยให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสอดคล้องตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมของประเทศในการรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบการค้าแบบไร้กระดาษ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
การจัดประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ ได้แก่
การบรรยายในหัวข้อ Significance and Benefit for Thailand in Joining the UN Framework Agreement on Facilitation of Cross-Border Paperless Trade in Asia and the Pacific โดย Ms. Soo Hyun Kim - Economic Affairs Officer, Trade Policy and Facilitation Section, Trade, Investment and Innovation Division (TIID), United Nations ESCAP
การบรรยายในหัวข้อ UN/CEFACT Data Semantics : Data standards and related tools for trade digitalization โดย Ms. Sue Probert – Transport & Logistics Domain Coordinator, UN/CEFACT
การบรรยายในหัวข้อ South Krea’s experience in developing data standards to support trade digitalization โดย Ms. Kyeongrim (Kerri) Ahn – Korea Trade Network ประเทศเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการค้าดิจิทัลของโลก

โดยเนื้อหาครอบคลุมถึง ความสำคัญและประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้าร่วมความตกลง UN Framework Agreement, แนวคิดของมาตรฐานข้อมูล UN/CEFACT Data Semantics ที่ใช้ในกระบวนการค้าระหว่างประเทศแบบดิจิทัล และกรณีศึกษาจากประเทศเกาหลีใต้ในการจัดทำโครงสร้างข้อมูลทางการค้า เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ ได้รวบรวมข้อเสนอแนะและประเด็นสำคัญจากการแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และการส่งเสริมการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยต่อไป